[ส่อง] ราคามิกเซอร์ YAMAHA ทุกรุ่น (2019)

“Yamaha เป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่มีประสบการณ์ในการออกแบบมิกเซอร์มาอย่างยาวนาน จึงมีความเชี่ยวชาญและเข้าใจความต้องการของผู้ใช้อย่างแท้จริง หากกล่าวถึงกลุ่มสินค้าดิจิตอลมิกเซอร์ อุปกรณ์ของ Yamaha ถือว่ามีความโดดเด่นและประสบความสำเร็จ”

มิกเซอร์ Yamaha ได้รับการยอมรับทั้งในและต่างประเทศ จาก CL Series ลงมา QL Series หรือกระโดดไป Series เรือธงอย่าง PM Series ซึ่งมี PM7 และ PM10 เป็นรุ่นท็อป นอกจากนี้ยังมีรุ่นเล็กสุดคือ TF Series รวมไปถึงรุ่นเก่าๆ อย่าง O1V96i ปัจจุบันก็ยังมีขายในท้องตลาดอยู่

หลายปีที่ผ่านมาดูเหมือน Yamaha จะโฟกัสทิศทางตลาดไปที่ดิจิตอลมิกเซอร์ อย่างไรก็ดี Yamaha ยังคงผลิตอะนาลอกมิกเซอร์ออกสู่ตลาด ยังไม่ทิ้งตลาดนี้ไปเสียทีเดียว เนื่องจากยังมีงานบางประเภทที่จำเป็นต้องใช้อะนาลอกมิกเซอร์อยู่

**สำหรับบทความนี้จะพาท่านไปทำความรู้จักมิกเซอร์ของ Yamaha ที่มีอยู่ในท้องตลาดเมืองไทยทั้งดิจิตอลมิกเซอร์และอะนาลอกมิกเซอร์ทุกรุ่น ดังนี้

ดิจิตอลมิกเซอร์  (Digital Mixer)

ปัจจุบันดิจิตอลมิกเซอร์ตัวท็อปสุดของ Yamaha คือ PM ซีรี่ส์ รุ่น PM10 รองลงมาคือรุ่น PM7 เราอาจจะไม่มีโอกาสเห็นราคามิกเซอร์รุ่นเหล่านี้ เพราะไม่ใช่มิกเซอร์ที่ผลิตป้อนสู่ตลาดทั่วไป เนื่องจาก Yamaha มีนโยบายในลักษณะผลิตตามคำสั่งซื้อเท่านั้น

ฉะนั้น หากเป็นตลาดระดับสูง ในวงการมักจะนิยมใช้ตระกูล CL ซีรี่ส์เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเราจะเจอได้ในงานคอนเสิร์ต งานบรอดคาสต์ในห้องส่ง หรือในห้องโปรดักชันขนาดใหญ่ไปจนถึงคอนเสิร์ตในอิมแพ็คอารีน่า

ส่วนซีรี่ส์ที่เล็กลงมาคือ QL ในฟังก์ชั่นการทำงานจะใกล้เคียงกัน คือจะมีทัชสกรีน รวมถึงขนาดของจอ อุปกรณ์ส่วนใหญ่จะเหมือนกัน พวกอุปกรณ์ต่อขยายอย่างเช่นออปชัน I/O เหมือนกันทุกอย่าง รวมถึงสามารถทำงานร่วมกันได้ รับ/ส่งข้อมูลถึงกันได้ด้วย Dante เน็ตเวิร์กผ่านสาย LAN

สำหรับ TF ซีรี่ส์ถือเป็นดิจิตอลมิกเซอร์ซีรี่ส์เล็กสุด ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานในกลุ่มผู้บริการเครื่องเช่า งานติดตั้งที่มีงบไม่สูงมาก โดยสามารถทำงานสเกลเล็กถึงกลางได้


Yamaha TF Series

ในไลน์สินค้าประกอบด้วยสามรุ่น คือ TF5 รองลงมาเป็น TF3 และเล็กสุดคือ TF1 และยังมีอีกรุ่นที่ออกแบบมาเพื่องานติดตั้งโดยเฉพาะนั่นคือ TF-Rack ทุกรุ่นรองรับออปชันเสริม เช่น สเตจบ็อกซ์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ประเภท I/O ลักษณะจะคล้ายๆ กับ I/O ที่อยู่ใน CL, QL ซีรี่ส์ นั่นคือ Tio1608-D สเป็ก 16in/8out สำหรับอักษรตัว “D” ที่ปรากฎอยู่ด้านหลังชื่อรุ่นอุปกรณ์ มาจากคำว่า Dante เน็ตเวิร์ก ซึ่งจะใช้ระบบคอมพิวเตอร์ลิงค์สัญญาณเข้ามาด้วยสัญญาณเน็ตเวิร์ก ซึ่งบางระบบอาจจะเชื่อมต่อจากการ์ดเสริมไปต่อกับคอมพิวเตอร์ หรือระบบ Dante อื่นๆ ที่เราจะใช้งาน ตามระบบที่ออกแบบไว้ ทั้งนี้ก็เพื่อเพิ่มจำนวนแชนเนลนั่นเอง

TF Series ยังรองรับแอปพลิเคชั่น ใช้ทำหน้าที่ในการควบคุม เช่นกรณีเราใช้ iPad/iPhone จะมีแอปพลิเคชันชื่อว่า Stage Mixing หน้าที่คือมีไว้ควบคุมคอนโซล TF ตัวอย่าง กรณีนักดนตรีใช้ iPhone หากต้องการจัดการสัญญาณ Aux ที่เป็นมอนิเตอร์ สามารถทำได้เลย หากเราใช้คอมพิวเตอร์ ก็จะใช้ซอฟต์แวร์ชื่อ TF Editor เราสามารถใช้ TF Editor ได้เช่นกัน หากเราใช้ TF Editor รันบน Windows ด้วยอุปกรณ์ที่เป็นแท็บเลต เช่นพวก Microsoft Surface จะใช้งานได้เหมือน iPad อีกตัวหนึ่ง เพราะฟังก์ชันจะเหมือนกับ iPad ทุกอย่าง เพียงแค่รันบน Windows


หมายเหตุ: ราคาก่อนส่วนลดหมายถึงราคาตั้งของสินค้าที่ทาง บริษัทยามาฮ่าประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้นำเข้าได้กำหนดราคาไว้…ส่วนเรื่องของส่วนลดเป็นสิทธิของตัวแทนจำหน่ายสินค้า (Dealer)ของบริษัทยามาฮ่าแต่ละร้านค้า…ซึ่งทางคุณลูกค้าควรเช็คดูราคาแต่ละร้านค้าก่อนตัดสินใจนะคะ…..


Digital Mixing Console TF5, TF3, TF1

ดิจิตอลมิกเซอร์รุ่น TF5

มีเฟดเดอร์จำนวน 32 ก้าน และบวกกับอีก 1 มาสเตอร์สีแดงมองเห็นเด่นชัด มีหน้าจอขนาด 7 นิ้ว เป็นจอชนิดมัลติทัชสกรีน ส่วนด้านข้างจะมีปุ่ม Auxiliary TF5 รองรับการเชื่อมต่อสูงสุดคือมี 40 Mono, 2 Stereo, 2 Return และตัวมันเองมี I/O อยู่ด้านหลังเครื่อง คือจะมี 32 Mono และมีอินพุต XLR อีก 16 อินพุต (ราคา 222,000 บาท ก่อนส่วนลด)

ดิจิตอลมิกเซอร์รุ่น TF3

มีจำนวนเฟดเดอร์ 24+1 เฟดเดอร์จะน้อยกว่า TF5 ตำแหน่งที่ใช้วาง iPad ก็จะเล็กลง เวลาทำงานอาจจะต้องวางแนวตั้ง สามารถเชื่อมต่อ RCA แบบสเตอริโอได้ 2 ช่อง มี AUX 20 ช่อง (8 mono+8 stereo) มี 8 DCA สามารถบันทึกเสียงได้ 34×34 แชนเนล ผ่านพอร์ต USB 2.0 (ราคา 185,000 บาท ก่อนส่วนลด)

ดิจิตอลมิกเซอร์รุ่น TF1

ขนาดจะถูกปรับเหลือเฉพาะบริเวณจอกับปุ่มกด ส่วนเฟดเดอร์จะเหลือแค่ 2 แบ็งค์ ในงานบางประเภทเท่านี้ก็เพียงพอสำหรับใช้งาน แต่ผู้ใช้อาจจะต้องขยันกดสวิตซ์เข้าออกบ่อยๆ รุ่นนี้มีจำนวนเฟดเดอร์แชนเนล 16 ก้านและมาสเตอร์แชนเนลอีก 1 ก้าน มี AUX 20 ช่อง (8 mono+8 stereo) มี 8 DCA สามารถบันทึกเสียงได้ 34×34 แชนเนล ผ่านพอร์ต USB 2.0 เช่นเดียวกับรุ่นใหญ่ (ราคา 150,000 บาท ก่อนส่วนลด)

ในจำนวนทั้ง 3 รุ่น จะมีจำนวนเอาท์พุตด้านหลังอุปกรณ์เท่ากันหมดคือ 16 เอาท์พุต ลักษณะการทำงานเป็น Omni เอาท์พุต กล่าวคือผู้ใช้สามารถกำหนดเป็นอะไรก็ได้

หากสำรวจด้านหลังอุปกรณ์เราจะเห็นจำนวนอินพุต 32 และเอาท์พุต 16 ช่อง ซึ่งพอร์ตอื่นๆก็จะมี footswitch อยู่ตรงกลาง ใช้สำหรับกำหนดให้เปิด/ปิดเอฟเฟ็กต์ หรือจะบายพาสอะไรบางอย่าง และอีกอันหนึ่งคือ USB 2.0 เป็นไฮสปีดพอร์ตที่ใช้สำหรับบันทึกเสียง

ในตัว TF ทั้ง 3 รุ่น จะแถมซอฟต์แวร์ฟรี นั่นคือ Cubase AI สามารถที่จะใช้บันทึกเสียงได้ คือในกล่องอุปกรณ์จะมีใบรับประกันและเอกสารประกอบการลงทะเบียน Cubase AI ซึ่งมันเป็น Serial No. มีมูลค่าราว 3,000 บาท เราสามารถเข้าไปดาวน์โหลดซอฟต์แวร์จากเว็บไซต์ของ Steinberg ได้เลย

จากนั้นจะมีช่อง RJ45 ไว้ใช้เชื่อมต่อกับไวร์เลสเราท์เตอร์ ส่วนด้านบนเป็นสเตริโออินพุตสองช่อง อินพุตจะเป็นแบบมัลติทั้งหมดเลย ลักษณะจะคล้ายๆ กับมิกเซอร์ MGP ที่เป็นอะนาล็อก

หากเปรียบเทียบคอนโซลทั้ง 3 รุ่น จะพบว่าสเป็กทั้ง 3 รุ่นนั้น มีสเป็กที่คล้ายๆ กันคือมี 20 Aux เท่ากัน โดยแบ่งเป็น 8 โมโน ส่วน DCA ก็เป็นเรื่องการจัดกลุ่มให้มาอยู่ด้วยกันเพื่อให้ควบคุมด้วยสไลด์เฟดเดอร์ก้านเดียวได้

สำหรับ DCA มี 8 ตัว เอฟเฟ็กต์มีทั้งหมด 8 ตัว แบ่งเป็น Aux จำนวน 2 และ Insert อีก 6 และกันเอาไว้สำหรับสเตริโอ ตั้งแต่แชนเนล 9 ถึง 20 หากไล่จาก 1-8 จะตั้งเป็นโมโนหรือสเตริโอก็ได้ อยู่ที่เราจะจับคู่หรือเปล่า สำหรับกราฟิกอีคิวมีอยู่ 10 ช่อง เป็นสเตริโอกับ 8 โมโน Aux


Yamaha TF-Rack

TF ซีรี่ส์เป็นหนึ่งในดิจิตอลมิกเซอร์ซึ่งเปิดตัวครั้งแรกในปี 2015 ฟังก์ชันที่มีความโดดเด่นคือ “TouchFlow Operation” ช่วยให้ผู้ใช้สามารถทำงานได้สะดวก ตอบสนองกับดนตรีและศิลปินบนเวทีได้อย่างรวดเร็ว สามารถยกระดับการซับพอร์ตงานโชว์คอนเสิร์ตสูงขึ้นได้อีกขั้น

สำหรับฟังก์ชัน TouchFlow Operation สามารถจัดการผ่านหน้าจอทัชพาเนล แม้ซาวด์เอ็นจิเนียร์ที่อาจจะไม่ค่อยมีประสบการณ์ ก็สามารถใช้งานได้ดังมืออาชีพ นอกจากนั้น จุดเด่นอีกอย่างคือมี  D-PRE ซึ่งเป็นวงจรปรีแอมป์ที่ถูกออกแบบเพื่อให้มิกเซอร์มีคุณภาพเสียงที่ดี และตอบสนองหูของเอ็นจิเนียร์อย่างไม่เคยมีมาก่อน

อีกทั้งยังมีฟีเจอร์ที่ตอบสนองการบันทึกสดและมีสมรรถนะสูง กับการออกแบบเป็นแร็ค I/O เป็นดิจิตอลมิกเซอร์ขนาดกระทัดรัด สามารถติดตั้งแอปพลิเคชันได้กว้างขวางและยืดหยุ่นมากขึ้น

สำหรับ TF-RACK เป็นเวอร์ชันมิกเซอร์ที่มีรูปทรงเป็นแร็คกระทัดรัด ที่ภายในอุปกรณ์เหมือน TF ซีรี่ส์รุ่นปกติ โดยคุณภาพและการทำงานทุกอย่างเหมือนกับรุ่น TF อื่นๆ เพียงแต่ออกแบบให้เหมาะต่อการติดตั้งกับงานบางประเภท โดยเฉพาะงานที่มีพื้นที่จำกัด และตอบโจทย์ผู้ใช้ได้กว้างขึ้นเช่นกัน ครอบคลุมทั้งผู้เริ่มต้นไปจนถึงเอ็นจิเนียร์ระดับอาชีพ

TF-RACK ถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม และไม่แพ้ใครในเรื่องความเรียบง่าย รวมถึงการเซตอัพอีกด้วย TF-RACK รองรับการเชื่อมต่อ 16mic/line + 1 สเตริโอไลน์อินพุต และมี 16 เอาท์พุต ทุกอย่างจบอยู่ในแร็คแท่นเดียว

ตัว TF-RACK เป็นมิกเซอร์สามารถรองรับงานคอนเสิร์ตขนาดเล็กไปจนถึงสเกลขนาดกลาง งานประชุมองค์กร งานอีเว้นต์พูดสด งานติดตั้งถาวรและอื่นๆ

TF-RACK ได้ออกแบบอินเทอร์เฟซให้น่าใช้งาน มีคำสั่งเรียบง่าย พร้อมด้วยดิจิตอลเอฟเฟ็กต์โพรเซสเซอร์ที่บรรจุอยู่ภายใน และชอร์ตคัตคำสั่งต่างๆ ที่ช่วยสร้างสรรค์ให้ได้คุณภาพเสียงที่ดี ภายใต้ไอเดียกระทัดรัดและเป็นสไตล์การติดตั้งแบบแร็ค (ราคา 105,000 บาท ก่อนส่วนลด)


Yamaha O1V96i

O1V96i เป็นดิจิตอลมิกเซอร์อีกรุ่น ที่สามารถรองรับงานในสเกลไม่ใหญ่นัก รองรับการเชื่อมต่อ 16 อินพุต 16 เอาท์พุต ก้านเฟดเดอร์ควบคุมด้วยมอเตอร์ สามารถบันทึกเสียงมัลติแทร็กผ่านการเชื่อมต่อพอร์ต USB วงจรมีโพรเซสเซอร์ทำงานระดับ 24-bit/96kHz และยังมาพร้อมกับเอฟเฟ็กต์ของ Yamaha VCM และ REV-X เอฟเฟ็กต์

สามารถบันทึกเสียงผ่านซอฟต์แวร์ Cubase AI ได้เลย สามารถเชื่อมต่อ Cascade Link เพิ่มขยายจำนวนอินพุตเป็น 40 อินพุต 20 บัสมิกซิ่งที่ 96kHz ได้ รองรับซอฟต์แวร์ 01V96i EDITOR สามารถรันได้ทั้ง MAC และ Windows จัดเก็บซีนเมมโมรีได้เหมือนกับดิจิตอลมิกเซอร์ทั่วไป (ราคา 140,000 บาท ก่อนส่วนลด)


Tio1608-D สเตจบ็อกซ์

Tio1608-D เป็นสเตจบ็อกซ์ที่รันผ่านเน็ตเวิร์ก Dante โดยรองรับ 16 ไมค์/ไลน์ และ 8 ไลน์เอาท์พุต บนตัว Tio แร็คมีฟีเจอร์ D-PRE เช่นเดียวกัน คือภาคไมค์ปรีแอมป์วงจรเหมือนกับคอนโซล TF ทุกประการ ดังนั้นจึงไม่ต้องกังวลว่าคุณภาพเสียงที่ส่งผ่านสเตจบ็อกซ์จะถูกลดทอนหรือให้คุณภาพเสียงไม่เหมือนเดิม

ตัว Tio แร็คสามารถเชื่อมต่อกับ TF-RACK ได้จำนวนสูงถึง 3 ตัวผ่านการ์ด NY64-D ซึ่งเป็นออปชันการ์ด ตัว TF-RACK สามารถขยายระบบทั้งสเตจบ็อกซ์และตัวคอนโซลได้สูงถึง 64 อินพุต/ 40 เอาท์พุต ภายใต้การติดตั้งผ่าน Tio1608-D และ NY64-D ทำให้ระบบมีขนาดใหญ่แต่ใช้พื้นที่เพียงนิดเดียว (ราคา 68,000 บาท ก่อนส่วนลด)


อะนาลอกมิกเซอร์  (Analog Mixer)

สำหรับไลน์การผลิตอะนาลอกมิกเซอร์ของ Yamaha ที่ยังมีขายในท้องตลาด ปัจจุบันมีหลายซีรี่ส์ ได้แก่ MG Series, MGP Series, AG Series รวมถึงเพาเวอร์มิกเซอร์ EMX อีกด้วย

Yamaha รุ่น MG Series

สำหรับ MG Series ซึ่งเป็นตระกูลใหญ่นั้นมีหลายรุ่น แต่ทุกรุ่นล้วนมีคุณภาพใกล้เคียงกัน จะเลือกรุ่นไหนมาใช้งานก็ต้องดูว่าจะใช้ทำงานในระดับไหน ใหญ่หรือเล็ก แต่ส่วนใหญ่บอร์ดที่ออกแบบในตระกูล MG จะเป็นงานระดับกลางๆ ลงไปหาเล็ก รวมถึงยังมี รุ่นที่เป็น USB ซึ่งเป็นรุ่นที่สามารถบันทึกเสียงผ่านคอมพิวเตอร์ได้นั้นมีอยู่ด้วยกัน 6 รุ่นคือ

  • MG10XU มี 10 อินพุต 1 สเตริโอบัส 1 Aux มาพร้อมกับ Cubase AI และเอฟเฟ็กต์ในตัว (ราคา 13,000 บาท ก่อนส่วนลด)
  • MG10XUF มี 10 อินพุต 1 สเตริโอบัส 1 Aux มาพร้อมกับ Cubase AI เอฟเฟ็กต์ในตัว และ Fader Version (ราคา 15,500 บาท ก่อนส่วนลด)
  • MG12XUK มี 12 อินพุต 2 Group 1 สเตริโอ และ 2 Aux มาพร้อมกับ Cubase AI เอฟเฟ็กต์ในตัว Knob Version (ราคา 16,000 บาท ก่อนส่วนลด)
  • MG12XU มี 12 อินพุต 2 Group 1 สเตริโอ และ 2 Aux มาพร้อมกับ Cubase AI เอฟเฟ็กต์ในตัว (ราคา 19,800 บาท ก่อนส่วนลด)
  • MG16XU มี 12 อินพุต 4 Group 1 สเตริโอบัสและ 4 Aux มาพร้อมกับ Cubase AI เอฟเฟ็กต์ในตัว (ราคา 28,000 บาท ก่อนส่วนลด)
  • MG20XU ถือเป็นรุ่นใหญ่สุดในซีรี่ส์มีขนาดอินพุต 20 แชนเนล 4 Group บัส Aux 4 ชุด มาพร้อมกับ Cubase AI และเอฟเฟ็กต์ในตัว (ราคา 38,500 บาท ก่อนส่วนลด)

ส่วนรุ่นธรรมดาใน MG Series ประกอบด้วยรุ่นดังต่อไปนี้

  • รุ่น MG06 มี 6 อินพุต 1 สเตริโอบัส (ราคา 6,200 บาท ก่อนส่วนลด)
  • รุ่น MG06X มี 6 อินพุต 1 สเตริโอบัสและเอฟเฟ็กต์ (ราคา 7,500 บาท ก่อนส่วนลด)
  • รุ่น MG10 มี 10 อินพุต 1 สเตริโอบัส 1 Aux (ราคา 9,000 บาท ก่อนส่วนลด)
  • รุ่น MG12 มี 12 อินพุต 2 Group 1 สเตริโอ และ 2 Aux (ราคา 17,000 บาท ก่อนส่วนลด)
  • รุ่น MG16 มี 12 อินพุต 4 Group 1 สเตริโอบัสและ 4 Aux (ราคา 23,500 บาท ก่อนส่วนลด)
  • รุ่น MG20 มี 20 อินพุต 4 Group 1 สเตริโอบัส และ 4 Aux (ราคา 36,000 บาท ก่อนส่วนลด)

Yamaha รุ่น MGP Series

เป็นอะนาลอกมิกเซอร์ขนาด 12 แชนเนล ไปจนถึง 32 แชนเนล ในซีรี่ส์นี้จะเป็นอะนาลอกเท่านั้น ไม่มีภาคออดิโออินเทอร์เฟซที่ใช้งานสำหรับบันทึกเสียงเหมือนกับรุ่น MG ซีรี่ส์บางรุ่นที่ลงท้ายด้วยรหัส U สำหรับ MGP ซีรี่ส์ที่มีขายในปัจจุบันได้แก่

  • MGP12X มี 12 ไลน์อินพุต แบ่งเป็น 4 โมโนและ 4 สเตริโอ 6 ไมค์อินพุต พร้อม Phantom และปุ่มควบคุม HPF (High pass filter) ทุกแชนเนล (ราคา 36,000 บาท ก่อนส่วนลด)
  • MGP16X มี 16 ไลน์อินพุต แบ่งเป็น 8 โมโนและ 4 สเตริโอ 10 ไมค์อินพุต พร้อม Phantom และปุ่มควบคุม HPF ทุกแชนเนล (ราคา 46,000 บาท ก่อนส่วนลด)
  • MGP24X มี 24 ไลน์อินพุต แบ่งเป็น 16 โมโนและ 4 สเตริโอ 6 Aux 2 เอฟเฟ็กต์ และ 4 Group (ราคา 66,000 บาท ก่อนส่วนลด)
  • MGP32X มี 32 ไลน์อินพุต แบ่งเป็น 24 โมโนและ 4 สเตริโอ 6 Aux 2 เอฟเฟ็กต์ และ 4 Group (ราคา 77,000 บาท ก่อนส่วนลด)

Yamaha รุ่น AG Series

เป็นอะนาลอกมิกเซอร์ขนาดจิ๋วที่มาพร้อมกับ USB อินเทอร์เฟซ สามารถใช้งานบันทึกเสียงหรือเล่นไฟล์ออดิโอจากคอมพิวเตอร์ได้ มีให้เลือก 2 รุ่น คือ

  • AG06 ขนาด 6 แชนเนล (ราคา 8,900 บาท ก่อนส่วนลด)
  • AG03 ขนาด 3 แชนเนล (ราคา 6,900 บาท ก่อนส่วนลด)

เหมาะกับงาน Live สดผ่าน Facebook หรืองานโปรดักชันทางดนตรีที่ไม่ต้องการจำนวนแชนเนลมากๆ ซึ่งราคาจะต่ำกว่า MG Series


เพาเวอร์มิกเซอร์  (Power Mixer)

รุ่น EMX Series

สำหรับ EMX Series เป็นอะนาลอกมิกเซอร์ที่มีภาคเพาเวอร์แอมป์อยู่ในตัว ในวงการเสียงมักจะเรียกกันว่า “เพาเวอร์มิกเซอร์” จุดเด่นของอุปกรณ์ประเภทนี้คือ เมื่อนำไปใช้งานไม่จำเป็นต้องติดตั้งเพาเวอร์แอมป์ เพราะภาคเพาเวอร์แอมป์ถูกติดตั้งอยู่ภายในตัวอุปกรณ์แล้ว โดยมีทั้งหมด 5 รุ่น ดังนี้

  • EMX5016CF มีอินพุต 16 ช่องอินพุต กำลังขับ 500 Watt @ 4 Ohms พร้อมดิจิตอล EQ 9 แบนด์ เอฟเฟ็กต์ SPX 16 โปรแกรม และเอฟเฟ็กต์ Compressor, Feed Back Suppressor, Yamaha Speaker Processing (ราคา 56,500 บาท ก่อนส่วนลด)
  • EMX5014C มีอินพุต 14 ช่อง กำลังขับ 500 Watt @ 4 Ohms พร้อมดิจิตอล EQ 9 แบนด์ เอฟเฟ็กต์ SPX 16 โปรแกรม และเอฟเฟ็กต์ Compressor, Feed Back Suppressor และ Yamaha Speaker Processing (ราคา 45,500 บาท ก่อนส่วนลด)
  • EMX7มีอินพุต 12 ช่อง กำลังขับ 600 Watt @ 4 Ohms หรือ 400 Watt @ 8 Ohms พร้อมดิจิตอล EQ 9 แบนด์ และเอฟเฟ็กต์ Feed Back Suppressor (ราคา 41,000 บาท ก่อนส่วนลด)
  • EMX5 มีอินพุต 12 ช่อง กำลังขับ 500 Watt @ 4 Ohms หรือ 370 Watt @ 8 Ohms เอฟเฟ็กต์ Feed Back Suppressor (ราคา 33,500 บาท ก่อนส่วนลด)
  • EMX2 มีอินพุต 10 ช่อง กำลังขับ 250 Watt @ 4 Ohms เอฟเฟ็กต์ SPX 4 โปรแกรม มี Master EQ และเอฟเฟ็กต์ Feed Back Suppressor (ราคา 22,000 บาท ก่อนส่วนลด)

สรุป

Yamaha มีดิจิตอลมิกเซอร์จำนวนหลายรุ่น ได้แก่ PM, CL, QL และ TF รวมถึง TF- Rack โดยดิจิตอลมิกเซอร์ทุกรุ่น/ซีรี่ส์ รองรับการเชื่อมต่อผ่าน Dante เน็ตเวิร์ก นอกจากนั้นสามารถขยาย I/O ด้วยสเตจบ็อกซ์ Tio1608-D ได้อีกด้วย ส่วนอุปกรณ์ที่เป็นอะนาลอกมิกเซอร์ แบ่งเป็นรุ่น MG, MGP และ AG Series ใน MG Series แบ่งออกเป็นรุ่นธรรมดากับรุ่นที่มี USB ซึ่งมิกเซอร์จะทำหน้าที่เป็นออดิโออินเทอร์เฟซ พร้อมแถมซอฟต์แวร์ Cubase AI ฟรี!

ส่วน MGP เป็นอะนาลอกมิกเซอร์ธรรมดา อย่างไรก็ดี ในรุ่นท็อปของซีรี่ส์นี้มีขนาดคอนโซลใหญ่ถึง 32 แชนเนลเลยทีเดียว ส่วน AG Series เป็นอะนาลอกมิกเซอร์ขนาดจิ๋วที่มาพร้อมกับ USB ออดิโออินเทอร์เฟซ คุณภาพเสียงดี ใช้งานง่าย ตามแบบฉบับของ Yamaha สำหรับผู้ใช้ที่ต้องการอะนาลอกมิกเซอร์ที่มีเพาเวอร์แอมป์ในตัว อาจจะเลือก EMX Series หรือในงานติดตั้ง (Install) ให้เลือก MA และ PA Series ได้เลย

หากมีข้อมูลหรือข้อผิดพลาดประการใดสำหรับบทความนี้ต้องขออภัยมาณ.ที่นี้ด้วยครับ

บทความโดย : อจ.เดชฤทธิ์ พลเยี่ยม (Bobby Rambo)


สนใจสั่งซื้อเครื่องเสียง ลำโพง มิกเซอร์ YAMAHA ทุกรุ่น
  ติดต่อ บริษัทมิวสิคสเปซ จำกัด – www.soundspacethai.com

Related Articles

0 Comment

โทร. : 022031821 , 026414744 ext 13
สายด่วน : 099-8759336, 081-2399040 (Eng), 089-6915832

Line : @soundspacethai

หรือส่งข้อความด้านล่างเพื่อติดต่อเราทาง Facebook